ที่โรงแรมมิราเคิล กรุงเทพ สถาบันเวชศาสตร์สมุฏฐาน เปิดประชุมเชิงวิชาการ เรื่อง “การวิจัยและพัฒนาสมุนไพรไทย เพื่อก้าวสู่ระดับนานาชาติ” โดยได้รับเกียรติจาก รศ.ดร.ภก. สุรพจน์ วงศ์ใหญ่ ผู้เชี่ยวชาญสมุนไพรของสหประชาชาติ และทีมวิจัยได้นำเสนอผลงานการวิจัยที่สำคัญของตำรับยาสมุนไพร “เคอร่า” ซึ่งผลการทดสอบสมุนไพรตำรับเคอร่าในห้องปฏิบัติการชีวเคมี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้ศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของยาเคอร่าในหลายด้าน  พบฤทธิ์ในการยับยั้งไวรัสชนิดต่าง ๆ กว้างขวาง ฤทธิ์ป้องกันไวรัสเข้าสู่เซลล์ ฤทธิ์ต้านการอักเสบ ฤทธิ์ต้านมะเร็ง  ฤทธิ์ทำให้เซลล์มะเร็งตาย

  รศ.ดร.เกียรติทวี ชูวงศ์กมล ภาควิชาชีวเคมี ม.เกษตรศาสตร์ ยังเปิดเผยถึงในด้านการยับยั้งไวรัส พบประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อไวรัสโคโรนา(SARS-CoV-2) โดยกลไกการยับยั้งเอนไซม์ขยายตัวไวรัส main protease ที่มีประสิทธิภาพสูงกว่าฟ้าทะลายโจรถึง 600 เท่า สูงกว่ายา Ritronavir 500 เท่า รวมทั้งยับยั้งกลไกการขยายตัวเชื้อไวรัสโคโรนา ชนิด RdRp ที่มีประสิทธิภาพมากกว่ายา Favipiravir นอกจากนี้ พบฤทธิ์ป้องกันเชื้อไวรัสโคโรนาเข้าสู่เซลล์ โดยพบว่ายาเคอร่าสามารถช่วยป้องกันการติดเชื้อโดยกลไกการป้องกันไวรัสเข้าสู่เซลล์ โดยที่ความเข้มข้น 0.5 mg./ml. สามารถป้องกันไวรัสเข้าสู่เซลล์ได้ถึง 90% ซึ่งมีศักยภาพที่น่าจะทำการศึกษาต่อไป

  และยังพบประสิทธิภาพการยับยั้งไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธ์ A ไวรัสไข้เลือดออก ไวรัสเอดส์ HIV ไวรัสเริม ซึ่งเป็นสาเหตุที่สำคัญของมะเร็งปากมดลูก รวมทั้งไวรัสที่ระบาดในสัตว์ คือ FIP ในแมวและไวรัสเอดส์แมว FIV ที่ทำให้ภูมิคุ้มกันบกพร่องเหมือนกับโรคเอดส์ในมนุษย์

     นอกจากนี้ยังพบฤทธิ์ในการต้านการอักเสบ โดยกลไกการยับยั้งไซโตไคน์ที่ก่อการอักเสบ คือ IL-1b, IL-6 และ TNF-alpha ซึ่งไซโตไคน์เหล่านี้มีผลทำให้เกิดภาวะปอดอักเสบในผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนาที่เรียกว่า พายุไซโตไคน์ รวมถึงมีผลต่อภาวะการอักเสบในร่างกายของผู้ป่วยหลายโรค เช่น SLE, รูห์มาตอยด์ ขณะดียวกันยังพบฤทธิ์การลดความดันโลหิต โดยการยับยั้งเอนไซม์ ACE

    ผลวิจัยยังพบว่า เคอร่า มีฤทธิ์ต้านมะเร็ง โดยการยับยั้งโปรตีน EGFR ที่เกี่ยวข้องกับส่งเสริมการเจริญเติบโตและแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งหลายชนิด เช่น มะเร็งทางเดินปัสสาวะ มะเร็งปอด, มะเร็งลำไส้ใหญ่ และมะเร็งเต้านม โดยพบว่ายาเคอร่าที่ความเข้มข้น 100 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร มีประสิทธิภาพการยับยั้งโปรตีน EGFR ได้เทียบเท่ายา Erlotinib ซึ่งเป็นยารักษามะเร็งแบบมุ่งเป้าที่ความเข้มข้น 1ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร และพบฤทธิ์ในการกระตุ้นโปรตีนชนิด P53 หรือ tumor protein 53 ซึ่งเป็น transcription factor ที่ควบคุมวงรอบของเซลล์ และยังมีหน้าที่ยับยั้งCaspaseเนื้องอกด้วย ทำให้ p53 มีความสำคัญในการยับยั้งมะเร็งของสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์

   นอกจากนั้นพบฤทธิ์การทำให้เซลล์มะเร็งตายเองแบบ Apoptosis โดยกลไกการกระตุ้นโมเลกุลสวิทช์ที่ชื่อว่า -8 และ Caspase-9 ซึ่งเป็นสวิตช์ระดับโมเลกุลสำหรับการตาย โดยความเข้มข้นที่สามารถทำให้เซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่ชนิด HCT116 ตายครึ่งหนึ่งคือ 73 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร ซึ่งเป็นค่าความเข้มข้นที่นับว่ามีประสิทธิภาพและน่าสนใจสำหรับการวิจัยพัฒนาเป็นตำรับสมุนไพรสำหรับโรคมะเร็งต่อไป

   ขณะที่ ผศ.ดร.สุริยัน สุขติ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์และคณะ เปิดเผยผลวิจัยความปลอดภัยจากการรับประทานยาแคปซูลเคอร่าในอาสาสมัคร พบว่า การรับประทานยาเคอร่า 8 แคปซูลต่อวัน (4,000) มก.ต่อวัน เป็นเวลา 14 วันติดต่อกัน มีความปลอดภัย  โดยเมื่อเปรียบเทียบผลการตรวจเลือดการทำงานของตับ ไต ค่าเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว ค่าโปรตีนที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบ คือ CRP (C-reactive protein)  และค่าการตกตะกอนของเม็ดเลือดแดง

   ด้าน ดร.ภก.พยงค์ เทพอักษร และคณะ เปิดเผยถึงผลวิจัยเปรียบเทียบการได้รับยาผู้ติดเชื้อเชื้อโควิด-19 ด้วยสมุนไพรตำรับเคอร่า เปรียบเทียบกับ ฟ้าทะลายโจร และการได้รับวัคซีน  กลุ่มตัวอย่าง 2,157 คน แบ่ง 3 กลุ่มคือ พบว่า กลุ่มผู้ติดเชื้อที่รับประทานยาฟ้าทะลายโจร และรับวัคซีนมีอัตราการติดเชื้อสูงกว่าผู้ที่รับประทานเคอร่า อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.01)

 ด้านนายแพทย์รังสรรค์ บุตรชา ผอ.รพ.ประชาธิปัตย์และคณะ เผยถึงกลุ่มตัวอย่างผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่มารักษา 230 คน โดยแบ่ง 2 กลุ่ม รับประทานยาเคอร่า และรับประทานยาโมลนูพิราเวียร์  พบว่าทั้งสองกลุ่มมีอาการดีขึ้น สมุนไพรตำรับเคอร่า มีประสิทธิภาพการรักษาไม่แตกต่างกัน

  

ตอกย้ำ ดร.สุวรรณี สร้อยสงค์ และคณะ ศึกษาในกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ติดเชื้อโรค โควิด-19 สายพันธุ์เดลต้า โดยทำการศึกษาย้อนหลัง จากกลุ่มผู้ติดเชื้อเข้าข่ายโรคโควิด-19 ในจังหวัดปทุมธานี ที่ได้รับสมุนไพรตำรับเคอร่า จำนวน 2,510 คน ผลการศึกษาพบว่า ภายหลังจากที่ได้รับสมุนไพรตำรับเคอร่าพบอาการภายใน 7 วัน คิดเป็นร้อยละ 67   โดยในระหว่างการรักษาไม่พบว่ามีอาการลุกลามเพิ่มขึ้น ไม่มีการใช้เครื่องช่วยหายใจ ไม่มีผลข้างเคียงที่สำคัญ ไม่มีการส่งผู้ป่วยต่อ และไม่มีผู้ป่วยเสียชีวิตด้วยโรคโควิด-19 หลังจากได้รับประทานยาสมุนไพรตำรับเคอร่า

สำหรับข้อมูลเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายและประสิทธิผลการใช้สมุนไพรเคอร่ากับยาฟาวิพิราเวียร์ ในการรักษาผู้ป่วยติดเชื้อโรคโควิด-19 โดย ดร.ผุสดี สระทอง และคณะ  จากวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า เพชรบุรี เปิดเผยกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยที่ติดเชื้อโรค โควิด-19 สายพันธุ์เดลต้า ที่เข้ารับการรักษาในเครือข่ายโรงพยาบาลประชาธิปัตย์ จังหวัดปทุมธานี และองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี จำนวน 4,399 คน ใช้ยาฟาวิพิราเวียร์ จำนวน 2,838 คน ใช้สมุนไพรตำรับเคอร่า จำนวน 2,510 คน    พบว่ามีผู้ที่รับยาฟาวิพิราเวียร์เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลสนามภายใต้การดูแลของโรงพยาบาลประชาธิปัตย์และโรงพยาบาลประชาธิปัตย์ จำนวน 2,799 คน มีเหนื่อยต้องให้ออกซิเจนออกซิเจนจำนวน 77 คนในขณะที่ผู้ที่ใช้สมุนไพรตำรับเคอร่ารับยาและพักรักษาตัวที่บ้านไม่พบผู้ส่งต่อที่มีอาการรุนแรงมากขึ้น เมื่อพิจารณาค่าใช้จ่ายในการรักษา พบว่าผู้ป่วยที่ได้รับยาใช้ยาฟาวิพิราเวียร์ มีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยคนละ 19,784.14 บาท ส่วนสมุนไพรตำรับเคอร่ามีค่าใช้จ่าย เฉลี่ยคนละ 750 บาท

   ดร.ภัทร์ หนังสือ ประธานสถาบันเวชศาสตร์สมุฏฐาน เปิดเผย ว่าปัจจุบัน ผลิตภัณฑ์  เคอร่าได้รับการขึ้นทะเบียนกับสำนักงานอาหารและยา เลขที่ทะเบียน G 40/57 เป็นยาแก้ไข้ แต่ด้วยสรรพคุณที่มากมายเนื้อกว่าแค่ยาแก้ไข้ ซึ่งได้รับการยืนยันจากแพทย์ผู้ชำนาญการ และผลงานด้านวิจัยที่ได้นำมาบอกกล่าวในงานประชุมวิชาการครั้งนี้ สมุนไพรไทยตำรับเคอร่าจึงเหมาะสมกับสถานการณ์ของประเทศไทยในการพัฒนาเป็นหนึ่งใน SolfPower ที่จะสร้างรายได้และชื่อเสียงให้กับประเทศไทย ทั้งนี้ผลการวิจัยทั้งหมดจะได้นำเสนอต่อสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาเพื่อขึ้นทะเบียนเป็นผลิตภัณฑ์สมุนไพรพัฒนา ที่มีสรรพคุณในการรักษาโรคโควิด19 อันจะเป็นการส่งเสริมการใช้สมุนไพรภายในประเทศให้แพร่หลาย และส่งออกสู่ระดับนานาชาติต่อไป 

  

ใส่ความเห็น

You missed

ครั้งแรกในไทย! จูนเหยา เปิดตัว “JY AIR” ยานยนต์ไฟฟ้ารุ่นแรกที่ผสมผสานเทคโนโลยีอัจฉริยะและความยั่งยืน