“แล่นเบิ่งโขงอีสานอินเลิฟสังคมอารมณ์ดีปี 2565”

เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2565 อำเภอสังคม จังหวัดหนองคาย

นายสมชาย ชมภูน้อย ผู้อำนวยการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ภูมิภาคภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้ให้ข่าวและเป็นประธานเปิดงาน #แล่นเบิ่งโขงอีสานอินเลิฟสังคมอารมณ์ดีปี 2565” เมื่อวันอาทิตย์ที่ 12 มิถุนายน 2565 เวลา 05.00 – 09.30 น.อำเภอสังคม จังหวัดหนองคาย

โดยความร่วมมือและการบูรณาการการทำงาน ระหว่าง ททท.ภูมิภาคภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ภาคอีสาน) ททท.สำนักงานอุดรธานี (รับผิดชอบพื้นที่การตลาดท่องเที่ยวจังหวัดหนองคาย)   จังหวัดหนองคาย อำเภอสังคม เทศบาลตำบลสังคม หน่วยงานภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐและเอกชน ให้การสนับสนุนร่วมมือตลอดจน บริษัทเรคเรซสปอร์ต จำกัด ได้จัดกิจกรรมท่องเที่ยวรูปแบบแฮปปี้โมเดล ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภายใต้ชื่อว่า  “แล่นเบิ่งโขงอีสานอินเลิฟ สังคมอารมณ์ดี จังหวัดหนองคาย” ซึ่งได้จัดแบ่งการจัดกิจกรรมเป็นการแข่งขัน  3 ระยะทาง คือ

– ระยะ Fun Run 5 km.

– ระยะ Mini Marathon 10 km.

– ระยะ Half Marathon 21 km.

โดยเจาะกลุ่มนักท่องเที่ยวสายรักสุขภาพสายวิ่ง เป็นโครงการนำร่องกระตุ้นการออกกำลังกายและรักษาฐานลูกค้ากลุ่ม Sport Tourism  Theme “อีสานเขียวเที่ยวหน้าฝน” พร้อมนำเสนอแหล่งท่องเที่ยวอีสาน 3 ธรรม ”ธรรมชาติ-วัฒนธรรม-ธรรมะ” ในภูมิภาคภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในช่วงสถานการณ์ผ่อนคลายโรคระบาดไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) ที่เกิดขึ้นใน ปัจจุบันที่มีอาการรุนแรงของโรคลดลง สามารถจัดกิจกรรมในพื้นที่กลุ่มเป้าหมายได้ชาวไทยและต่างประเทศได้ปริมาณจำนวนประมาณ 1,000 คน/ทริป โดยเฉพาะในครั้งนี้กลุ่มนักท่องเที่ยวผู้ใส่ใจรักสุขภาพ เน้นอาหารสุขภาพ การออกกำลังกาย ชื่นชอบการเล่นกีฬา (Sport Lover) และผู้ชื่นชอบการชมกีฬา (Sport Fan) ตอบโจทย์ท่องเที่ยวแบบแฮปปี้โมเดลและส่งเสริมการท่องเที่ยวเที่ยวอีสานหน้าฝน หรือ “อีสานเขียวเที่ยวหน้าฝน” โดยเฉพาะกิจกรรมเที่ยวผ่อนคลายสไตล์เมืองนอก ”ชมวิวชิวริมโขง” เที่ยวพักผ่อนออกกำลังกายที่สามารถส่งเสริมการตลาดท่องเที่ยวต่อยอดความยั่งยืนแหล่งท่องเที่ยวริมแม่น้ำโขงในอนาคตต่อไป

#เที่ยวอำเภอสังคมอารมณ์ดี

#เที่ยวจังหวัดหนองคายสบายดี

#หลงรักแผ่นดินถิ่นอีสาน #ISANinLOVE

มาเด้อมา….. แล่นเบิ่งโขง….กันเด้อพี่น้อง

ใส่ความเห็น

You missed

ครั้งแรกในไทย! จูนเหยา เปิดตัว “JY AIR” ยานยนต์ไฟฟ้ารุ่นแรกที่ผสมผสานเทคโนโลยีอัจฉริยะและความยั่งยืน